คุณสมบัติเชิงกล
สเตนเลส(stainless)โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของเหล็กประมาณ 70-80% จึงทำให้มีคุณสมบัติ
ของเหล็กที่ สำคัญ 2 ประการ คือ ความแข็งและความแกร่ง คุณสมบัติเชิงกลเปรียบเทียบกับวัสดุ
ชนิดอื่น จะเห็นได้ว่าพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางมีความแข็งแรง และโมดูลัส
ความยืดหยุ่นต่ำ ส่วนเซรามิกมีความแข็งแรงและความเหนียวสูงแต่มีความแกร่งหรือความสามารถ
รับแรงกระแทกโดยไม่แตกหักต่ำสเตนเลส(stainless)ให้ค่าเป็นกลางของทั้งความแข็ง ความแกร่ง
และความเหนียว เนื่องจากมีส่วนผสมของธาตุเหล็กอยุ่มาก และจะมีเพิ่มขึ้นอีกในชนิดออสเตนิติก
ค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile
Strength) ของสเตนเลส ไม่ว่าจะชนิดที่อ่อนตัวง่าย ซึ่งสามารถทำให้ขึ้นรูปเย็นได้ดี เช่น การขึ้น
รูปลึก(Deep Drawing) จนถึงชนิดความแข็งแรงสูงสุด ซึ่งได้จากการขึ้นรูปเย็นหรือการทำให้
เย็นตัวโดยเร็ว(Quenching) หรือชนิดชุบแข็ง แบบตกผลึก(Preciptation
Hardening) ซึ่งเหมาะใช้ทำสปริง
คุณสมบัติโดยทั่วไปของ สเตนเลส 5 ชนิด
สเตนเลสต่างชนิดกันที่มีโครงสร้างต่างกัน จะมีลักษณะค่าความแข็งแรงที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน
- กลุ่มเฟอร์ริติก (Ferritic SS) มีค่าความจำนนความแข็งแรง และค่าความแข็งแรงสูงสุด
ปานกลาง เมื่อรวมกับค่าความยืดตัวสูง จึงทำให้สามารถขึ้นรูปได้ดี เกรดที่พบ AISI 430,
430Ti , 439 , 409
- กลุ่มมาร์เทนซิติก (Martensitic SS.)มีค่าความจำนนความแข็งแรง (Yield
Strength : YS) และค่าความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile
Strenght : UTS)สูงมากในสภาพที่ผ่านกระบวนการอบชุบ แต่จะมีค่าการยืดตัว
(Elongation : EL %) ต่ำ เกรดที่พบ AISI 410 , 420
- กลุ่มออสเตนิติก (Austenitic SS.)มีค่าความจำนนความแข็งแรงใกล้เคียงกับ
ชนิดเฟอร์ริติก แต่มีค่าความแข็งแรงสูงสุดและความยืดตัวสูง จึงสามารถขึ้นรูปได้ดีมาก
เกรดที่พบ AISI 304 , 316 , 304L ,316 L (** L = เน้นงานเชื่อม )
- กลุ่มดูเพล็กซ์( Duplex SS.) แบบออสเตไนท์ + เฟอร์ไรต์ มีค่าความจำนนความ
แข็งแรง และค่าความยืดตัวสูงจึงเรียกได้ว่า เหล็กชนิดนี้มีทั้งความแข็งแรง และความเหนียว
(Ductility) ที่สูงเป็นเลิศ
- กลุ่มพรีซิพิเตชั่นฮาร์เดนนิ่ง (Precipitation HS.) กลุ่มนี้เกิดการตกผลึกโดยวิธีทางความร้อน
เป็นการการพัฒนา ความแข็งแรง (strength) ความเหนียว (ductility) มีส่วนสผมของ
โครเมียม(Cr) 17 %มีนิเกิล(Ni) 4% ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย จึงทนต่อการ
กัดกร่อนได้เป็นอย่างดี
ความต้านทานการกัดกร่อน
เหตุใด? สเตนเลส(stainless)จึงทนต่อการกัดกร่อนได้ โลหะทุกชนิดทั่วไปจะทำ
ปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นฟิล์มออกไซต์บนผิวโลหะ หรือออกไซต์ ที่เกิดบน
ผิวเหล็กทั่วไป จะทำปฎิกิริยาออกซิไดซ์ และทำให้เกิดสภาพพื้นผิวเหล็กผุกร่อน ที่เราเรียกว่า
เป็นสนิม แต่สเตนเลส(stainless)มีโครเมียม(Cr)ผสมอยู่ 10.5%ขึ้นไป ทำให้
คุณสมบัติของฟิล์มออกไซต์บนพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นฟิล์มปกป้อง หรือพลาสซิฟเลเยอร์
(Passive Layer) ที่เหมือนเกราะป้องกันการกัดกร่อน ซึ่งปรากฎการณ์นี้เรียกว่า
พาสซิวิตี้ (Passivity)ฟิล์มปกป้องนี้จะมีขนาดบางมาก (สำหรับแผ่นสเตนเลสบางขนาด
1 มม. ฟิล์มหรือพาสซีฟ เลเยอร์นี้ จะมีความบางเทียบเท่ากับวางกระดาษ 1 แผ่น บนตึกสูง 20 ชั้น)
และมองตาเปล่าไม่เห็นฟิล์มนี้จะเกาะติดแน่น และทำหน้าที่ปกป้องสเตนเลส จากการกัดกร่อนทั้งมวล
หากนำไปผลิตแปรรูปหรือใช้งานในสภาพเหมาะสม เมื่อเกิดมีการขีดข่วน ฟิล์มปกป้องนี้จะสร้าง
ขึ้นใหม่ได้เองตลอดเวลา ความคงทนของพาสซีสเลเยอร์ เป็นปัจจัยหลักของความต้านทานการ
กัดกร่อนของสเตนเลส นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับสภาพการกัดกร่อน อันได้แก่ ความรุนแรง
ของปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ความเป็นกรดปริมาณสารละลายคลอไรต์ และอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้วการ
เพิ่มปริมาณ โครเมียม(Cr) จะช่วยเพิ่มความ ต้านทาน การกัดกร่อนของสเตนเลส การเติมนิเกิล
(Ni)จะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนโดยทั่วไป ให้ทนสภาวะกัดกร่อนรุนแรงได้
ส่วนโมลิบดินัมจะช่วยเพิ่มความต้านทานการกัดกร่อนเฉพาะที่ เช่น การกัดกร่อนแบบรูเข็ม
(Pitting Corrosion)
ในทางปฏิบัติ สเตนเลสชนิดเฟอร์ริติก มีการใช้งานจำกัดในสภาพการกัดกร่อนปานกลางและใน
สภาพชนบท ทั้งชนิดเฟอร์ริติกและออสเตนิติก สามารถใช้ทำ อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนได้ แต่
เนื่องจากชนิดออสเตนิติกสามารถทนการกัดกร่อนได้ดี และทำความสะอาดง่าย จึงนิยมใช้ใน
อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม นอกจากนี้ชนิดออสเตนิติกยังทนการกัดกร่อนจากสารเคมี
หลายประเภทได้แก่ กรด, อัลคาลายด์ เป็นต้น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมเคมี
และกระบวนการผลิตต่าง ๆ
ผิวสำเร็จชนิดต่างๆ ของสเตนเลส
#240 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 240
#320 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 320
#400 - ผิวที่ผ่านการขัดด้วยวัสดุสำหรับขัด เบอร์ 400
HL - ผิวผ่านการขัดละเอียด โดยมีลายขัดเป็นเส้นต่อเนื่องคล้ายเส้นผม (Hair line)
Mirror - ผิวจะเงาและสะท้อนดีมาก ได้จากการขัดด้วยวัสดุที่ละเอียดมาก
Distressed - ผิวที่มีลวดลายรอยขีด (Scratch) ไม่เป็นระเบียบ (Random)
Embossing - ผิวมีลวดลายนูนจากการรีด
Plating - ผิวเคลือบด้วยโลหะมีสี หรือเคลือบด้วยโลหะมีค่า
ABKOTEC LIMITED PARTNERSHIP
www.abkotec.com , www.strainer-filter.com
ABKOTEC LIMITED PARTNERSHIP
12 Soi Bangna-Trad25, Bangna, Bangna, Bangkok Thailand 10260
Tel. 02-7440761
Fax. 02-7443230
ฝ่ายขาย 24 ชม. M. 086-3679336, 095-9627339, 061-5906036
www.abkotec.com , www.strainer-filter.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น